คำว่า “แรงบิด” และ “แรงม้า” ดูแล้วน่าจะมีความหมายเชิงความเร็วและแรงคล้าย ๆ กัน แต่ความเป็นจริงแล้วนั้นมีความหมายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แรงบิดเป็นตัวชี้วัดอัตราการเร่ง ส่วนแรงม้าเป็นหน่วยที่ใช้วัดกำลังหรือสมรรถนะของเครื่องยนต์ หรือเรียกว่าเป็นตัวที่บอกกำลังสูงสุดที่รถมอเตอร์ไซค์คันนึงจะทำสามารถทำได้ ซึ่งทั้งสองตัวชี้วัดนี้ยังมีข้อแตกต่างกันอีกมากมาย ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยกัAน!
แรงบิด (Torque) คือ การบิดเพื่อส่งแรงกำลังของเครื่องยนต์ไปหมุนที่เพลา เกียร์ และล้อรถ ทำให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ซึ่งค่าของแรงบิดจะแตกต่างกันไปตามความเร็วของรอบเครื่องยนต์ หากรถมอเตอร์ไซค์มีแรงบิดสูงในรอบเครื่องที่ต่ำจนถึงปานกลางก็จะสามารถออกตัวด้วยอัตราเร่งที่ดีกว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีแรงบิดต่ำกว่าได้
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงจะช่วยทำให้มอเตอร์ไซค์มีอัตราเร่งที่ดีในการออกตัว โดยสามารถทำความเร็วจาก 0 -100 กม./ชม. ได้ในไม่มีกี่วินาที ซึ่งต่างจากรถมอเตอร์ไซค์ที่มีแรงบิดน้อย ก็จะไม่สามารถทำอัตราเร่งการออกตัวได้ดี แต่จะมาเร่งทำความเร็วในตอนปลายได้แทนนั่นเอง
โดยในปัจจุบันจะนิยมใช้หน่วยวัดหลัก ๆ อยู่ 2 ค่า ได้แก่
1. ฟุต-ปอนด์ (lbft) เป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้ในฝั่งอเมริกา
2. นิวตัน-เมตร (Nm) เป็นหน่วยวัดที่นิยมใช้ในประเทศแถบยุโรป ประเทศในฝั่งเอเซีย รวมถึงประเทศไทย
- ช่วยในเรื่องของการออกตัวที่ดีขึ้น
- ขับขี่ในเมืองได้อย่างสะดวก
- สามารถเร่งแซงได้อย่างทันท่วงที
- เพิ่มสมรรถนะในการขับขี่เมื่อบรรทุกของหนัก
แรงม้า (Horse Power) คือ หน่วยที่ใช้วัดกำลังของเครื่องยนต์ เป็นตัวที่บอกกำลังสูงสุดที่รถมอเตอร์ไซค์คันนึงจะทำสามารถทำได้ ยิ่งถ้าเครื่องยนต์มีแรงม้าสูง ก็จะยิ่งสามารถทำความเร็วได้มาก โดยในปัจจุบันเราสามารถวัดแรงม้าได้เกือบทุกส่วนของรถมอเตอร์ไซค์ ดังนี้
- BHP หรือ Brake Horse Power เป็นหน่วยวัดค่าแรงม้าจากเครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว โดยจะวัดจากล้อช่วยแรง (Fly Wheel) ซึ่งเป็นที่ชิ้นส่วนที่ติดอยู่กับเครื่องยนต์
- WHP หรือ Wheel Horse Power เป็นหน่วยวัดค่าแรงม้าที่ล้อรถ โดยจะใช้อุปกรณ์ไดโน่ (Dyno) สำหรับวัดค่าแรงม้า ซึ่งจะได้ตัวเลขที่แท้จริงของรถมอเตอร์ไซค์คันนั้น ๆ ที่สามารถส่งกำลังลงสู่พื้นถนนได้
- SHP หรือ Specific Horse Power เป็นหน่วยวัดค่าแรงม้าที่บ่งบอกถึงกำลังเครื่องยนต์ที่สร้างได้ต่อหน่วยความจุ
- IHP หรือ Indicated Horse Power คือ กำลังแรงม้าที่เครื่องยนต์สามารถผลิตได้
- Power to Weight Ratio คือ การวัดน้ำหนักรถทั้งคันต่อแรงม้าที่เครื่องยนต์สามารถสร้างได้ ยิ่งถ้ารถมอเตอร์ไซค์มีน้ำหนักน้อย ก็จะสามารถทำความเร็วได้แรงกว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีน้ำหนักมาก
- PS หรือ Pferdestrke เป็นหน่วยวัดกำลังแรงม้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแถบยุโรป ซึ่งประเทศไทยก็ใช้ค่าแรงม้านี้ด้วยเช่นกัน
- kW หรือ kilowatt เป็นหน่วยวัดแรงม้าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะเปรียบเสมือนกำลังของเครื่องยนต์เป็นกำลังไฟฟ้าที่สามารถทำแทนกันได้
- ทำความเร็วสูงสุดได้ดี หรือทำความเร็วปลายได้มาก
- เร่งเครื่องได้เร็วทันใจ ตอบสนองทันทีในการขับขี่ความเร็วสูง
- สามารถเร่งแซงคันอื่น ๆ ได้สะดวก
- สามารถบรรทุกน้ำหนักได้เยอะขณะขับขี่
แรงบิดจะบ่งบอกถึงอัตราเร่ง รวมถึงความสามารถในการบรรทุก ลากจูงของรถคันนั้น ๆ ในขณะที่แรงม้าจะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความเร็วที่รถคันนั้นสามารถทำได้เป็นหลัก ซึ่งทั้งสองค่านี้ก็เป็นเพียงตัวเลขที่บ่งบอกถึงสมรรถนะเบื้องต้นของรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น ยังต้องมีการพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์ที่จะทำให้เกิดแรงบิด หรือแรงม้าสูงสุดที่จะทำได้อย่างแท้จริง
สำหรับใครที่เน้นการออกตัวเร็วและไว บิดคันเร่งแล้วพุ่งทันที ก็เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ที่มี “แรงบิดสูง” แต่ถ้าหากชื่นชอบในความเร็วคงที่ เร็วดีไม่มีตก “แรงม้าสูง” จะตอบโจทย์มากกว่าครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบและการใช้งานของผู้ขับขี่ของแต่ละบุคคล เลือกให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์การขับขี่ของตัวเองจะดีที่สุด เพื่อที่จะสามารถใช้งานเครื่องยนต์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความเป็นห่วงจาก 35 ยนตรการครับ