ในทุกอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันการรั่วซึมภายในเครื่องยนต์ จะมีชิ้นส่วนที่เป็นตัวกันรั่วไม่ให้น้ำมันเครื่องและน้ำหล่อเย็นด้านในไหลออกมาได้ และช่วยป้องกันการสูญเสียกำลังอัด ที่มีชื่อเรียกว่า “ปะเก็น” อยู่ด้วย ซึ่งปะเก็นถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญของเครื่องยนต์เลยก็ว่าได้
ปะเก็น (Gasket) เป็นอุปกรณ์เล็กๆที่ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนเพื่อกั้นหน้าสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนสองชิ้นที่นำมาประกบติดกัน เป็นรอยต่อ หรือใช้อุดรอยรั่ว ใช้ในการปิดผนึกและกันกระแทก สามารถช่วยป้องกันการรั่วซึมในเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ
โดยปะเก็นถูกออกแบบมาให้สามารถยุบตัวติดกับวัสดุที่นำมาประกบกันได้ ไม่มีช่องและแนบสนิท ทำให้สิ่งที่อยู่ด้านใน เช่น ของเหลว อากาศ ก๊าซ ไม่สามารถไหลออกมาได้ เพราะในสภาวะที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป อาจทำให้โลหะเกิดการหดหรือขยายตัว หากไม่มีปะเก็นหรือเกิดความไม่เรียบในการประกบของชิ้นส่วนสองชิ้น อาจเป็นเหตุให้เกิดการรั่วไหลได้
สามารถพบปะเก็นได้ทุกที่ตั้งแต่เครื่องยนต์ไปจนถึงชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวต่างๆ หรือแม้กระทั่งบนโซ่ของมอเตอร์ไซค์ โดยโอริงในห่วงโซ่ก็เป็นปะเก็นที่มีส่วนทำให้โซ่เคลื่อนที่ได้ และยังช่วยรักษาข้อต่อไว้อย่างแน่นหนา
ในปัจจุบัน ปะเก็นถูกทำขึ้นจากวัสดุหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยาง, โลหะ, เทปล่อน, เชือก, หรือทนไฟมีฉนวนกันความร้อน ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป และจะถูกนำไปใช้ตามจุดต่างๆตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนวัสดุที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
เป็นโลหะที่มีความอ่อนตัว สามารถใช้อุณหภูมิและความดันสูงได้ดี มีความแข็งแรงสูง แต่ไม่ทนต่อการกัดกร่อน เช่นวัสดุจำพวก Soft iron, Low carbon steel, Monel, Inconel จำพวก RTJ หรือ Ring gasket
เป็นวัสดุจำพวกยาง วัสดุสังเคราะห์ ไฟเบอร์ต่างๆ ทนต่อการกัดกร่อน มีความยืดหยุ่น แต่ไม่สามารถทนอุณหภูมิและความดันสูงได้ ราคาไม่แพง
เป็นปะเก็นที่มีการผสมผสานกันของทั้งโลหะและอโลหะ ถูกออกแบบตามการใช้งานในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าแปลนของเครื่องยนต์ บริเวณที่ต้องรับแรงดัน หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ระบายความร้อน เช่น ปะเก็นฝาสูบ เป็นต้น
มีลักษณะเหมือนกาวยาง ใช้ทาตรงจุดที่ต้องการซีลและป้องกันการรั่วซึม นิยมใช้สำหรับการป้องกันการรั่วซึมของน้ำ
ปะเก็นส่วนมากที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน จะมีขายปะเก็นชุดใหญ่ ปะเก็นชุดเล็ก ปะเก็นเฉพาะจุด และปะเก็นแผ่นที่สามารถนำมาตัดเองได้ โดยปะเก็นชุดใหญ่จะมีปะเก็นสำหรับทุกส่วนของมอเตอร์ไซค์ ในขณะที่ปะเก็นชุดเล็ก จะประกอบไปด้วยชุดปะเก็นสำหรับเสื้อสูบ ฝาสูบ โอริง ซีลวาล์ว และยางฝาครอบวาล์ว
ปะเก็นนั้นอาจเกิดความเสียหายได้ในหลายกรณี โดยในบทความนี้จะยกตัวอย่างกรณีที่มักพบเจออยู่เป็นประจำ ได้แก่
กรณีนี้จะทำให้กำลังอัดของลูกสูบรั่วไหลไปยังอีกสูบได้ ทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ สูญเสียกำลังอัดในแต่ละสูบ ตามมาด้วยการทำงานของระบบจุดระเบิดผิดจังหวะ ส่งผลให้น้ำมันเครื่องซึม และน้ำหล่อเย็นรั่วเข้าไปในห้องเผาไหม้จนเครื่องยนต์เกิดอาการโอเวอร์ฮีท
หากเกิดกรณีนี้ จะทำให้น้ำหล่อเย็นรั่วเข้าไปในห้องเผาไหม้ จนทำให้น้ำในหม้อน้ำหายไปและเครื่องยนต์ร้อนจัด การจุดระเบิดผิดพลาดระหว่างการสตาร์ทเครื่องยนต์ อีกทั้งเขม่าจากการจุดระเบิกนั้นอาจเกิดการรั่วไหลเข้าไปในระบบน้ำหล่อเย็น กัดกร่อนทางเดินน้ำหล่อเย็นและระบบระบายความร้อนจนได้รับความเสียหาย
ในกรณีนี้ น้ำหล่อเย็นจะไหลไปผสมกับน้ำมันเครื่อง ทำให้สูญเสียคุณสมบัติในการหล่อลื่นกลไกต่างๆของเครื่องยนต์ สูญเสียกำลังอัด ระบบจุดระเบิดผิดพลาดผิดจังหวะ และฝาสูบโก่งตัว ทำให้เครื่องยนต์พังเสียหายได้
นอกจากนี้ปะเก็นยังสามารถเกิดความเสียหายได้จากอีกหลายปัจจัย เช่น การขันยึดปะเก็น ควรขันสลักเกลียวให้แน่นตามที่คู่มือระบุไว้เท่านั้น เพราะหากแน่นเกินไปจะทำให้ปะเก็นเสียหายได้ อีกทั้งจะต้องเช็คให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไป เพราะอาจก่อให้เกิดการรั่วซึมได้ ส่วนมากจึงมักให้ช่างผู้มีความเชี่ยวชาญทำหน้าที่เปลี่ยนปะเก็นให้กับเครื่องยนต์ต่างๆ
ทั้งนี้คุณไม่ควรใช้ปะเก็นอันเดิมซ้ำ นอกเสียจากว่าคุณอยู่ในกรณีฉุกเฉินและปะเก็นเก่ายังอยู่ในสภาพที่ดีเพียงพอเท่านั้น เพราะเมื่อปะเก็นถูกกดทับและแนบสนิทไปกับวัสดุแล้ว จะทำให้สึกหรอ ไม่แนบสนิทเหมือนเดิม และอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย
ถึงแม้ว่าปะเก็นเป็นสิ่งเล็กๆที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อมอเตอร์ไซค์ แต่ควรจะมีการดูแลและเปลี่ยนปะเก็นอยู่สม่ำเสมอเพื่อรอยต่อที่แข็งแรง แนบสนิท ไม่มีการรั่วซึม ทำให้คุณสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย